ีสุภาษิตกล่าวว่า “ให้รัศมีแห่งพระรัตนตรัยที่เปี่ยมล้ นด้วยเมตตาชำระล้างจิต พร้อมสดับพระ
ธรรม กลิ่นแห่งพระคัมภีร์หอมกำจร” นับตั้งแต่เดื อน ๗ เป็นต้นมา วัดหลิงหยิ่นซื่อ เมืองหางโจว ได้
จัดให้มีการอัญเชิญพระไตรปิฎก ตลอดจนพระคัมภีร์ต่าง ๆ ภายในหอพระคัมภีร์ของวัด นำออกมา
ตากแดดรับลม ค่ อย ๆ เปิดพระคัมภีร์ เพื่อทำความสะอาดทุกเล่มทีละหน้าด้วยความตั้งอกตั้งใจอย่าง
เต็มกำลั ง
กลุ่มอาสาสมัครเมฆวนาชำระล้างมือให้สะอาดและจุดเครื่องหอมบูชาพระรัตนตรัยเป็นที่
เรียบร้อยแล้ว พระธรรมาจารย์นำทุกคนประกอบพิธี เพื่ออัญเชิญพระคัมภีร์ออกมาตากแดด จากนั้น
คณะทำงานจึงได้ น้อมอัญเชิญพระคัมภีร์ที่ แสนจะล้ำค่าออกมาด้วยความเคารพและระมัดระวังเป็น
อย่างดี ทำความสะอาดปัดฝุ่นตลอดจนคราบต่าง ๆ อย่างประณีตบรรจง ค่อย ๆ เปิดพระคัมภีร์ไป
เรื่อย ๆ เบา ๆ เพื่อให้พระคัมภีร์ได้รับแสงแดดและสายลม ป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อรารวมทั้งแมลงต่าง ๆ
ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อพระคัมภีร์
วันที่ ๖ เดือน ๖ ตามปฏิทินจันทรคติจีน เป็นเทศกาลการนำพระคัมภีร์ออกมาตาก และเป็น
ประเพณีในพุทธศาสนาฝ่ายจีน จากบันทึก “อู๋เฉิงหวายจิ้วลู่ ” สมัยปลายราชวงศ์ชิ ง บรรยายไว้ว่า
“วัดเจดีย์ศิลา ซึ่งก็คือกู่หลานเยวี่ยน ใช้ เป็นที่ เก็บรักษาพระคัมภีร์ต่าง ๆ มาแต่เดิม ในทุก ๆ ฤดู ร้อน
พระสงฆ์ ที่จำพรรษาอยู่ในวัดจะนำพระคัมภีร์ออกมาเปิดรับลมเย็ น ๆ” ส่วนหนังสือ “เจินโจวจู๋จื อฉื
อหยิน” กล่าวว่า “วันที่ ๖ เดือน ๖ การตากพระคัมภีร์เป็นกิจอันพึงกระทำในวัดวาอารามทั้งหลาย
แล
แท้ ที่จริงแล้ ว ระยะเวลาหรือวันในการตากพระคัมภีร์ไม่จำเป็นจะต้องกำหนดให้แน่ชัดเสมอไป
เพราะในฤดูร้อนจะมีอากาศที่ร้อนอบอ้าว ประจวบกับฤดูฝนที่เพิ่งจะผ่านพ้นไป ทำให้เกิดความชื้ นใน
อากาศขึ้นได้ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ อาจจะถูกเชื้ อราทำลายให้เสียหายได้ โดยง่าย คัมภีร์ทางพุทธศาสนา
เป็นของล้ ำค่าของวัด ถูกเก็บรักษาไว้ในหอพระคัมภีร์มาเนิ่นนานหลายปี ย่อมที่จะเกิดเชื้อราหรือมี
สัตว์เล็กสัตว์น้อยกัดกินได้ เดือน ๖ ตามปฏิทินจันทรคติจีนของทุกปี เป็นช่วงหลังฤดู ฝน พระสงฆ์ที่
จำพรรษาในวัดหลิงหยิ่นซื่อจึงได้ จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครเมฆวนาขึ้น เพื่อนำพระคัมภีร์ออกมาตากและ
เปิดที ละเล่ม
การนำพระคัมภีร์ออกมาเปิดและตากแดดนั้น ถือเป็นการรักษาพระคั มภีร์ให้คงอยู่ในสภาพเดิ ม
ได้ ยาวนานมากที่สุดเท่าที่จะรักษาได้ ขณะเดียวกัน ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจที่จะพยามเรียนรู้
พระคัมภีร์อีกก้าวหนึ่ งของเหล่าพุทธบุตรทั้งหลาย ที่จะได้ใช้โอกาสนี้ ในการเข้าถึงพระไตรปิฎกให้
ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการสร้างเหตุปัจจัยด้วยการปลูกเมล็ดพันธุ์ไว้ในพระคัมภีร์ ไม่ให้หลงลืมโพธิ
จิต เพื่อที่จะได้สำเร็จโพธิผลตรัสรู้ ในภายภาคหน้า
ธรรมเนียมการตากพระคัมภีร์นี้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงทัศนะของชาวพุทธที่มีต่อพระคัมภีร์ ในพุทธ
ศาสนา ที่ประกอบไปด้วยความเคารพนอบน้อมและให้ความสำคั ญเป็นอย่างยิ่ง ทุกตัวอักษรทุก
ประโยคในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาล้วนแฝงไปด้วยความรู้ อันสูงสุ ด ทั้งหมดคือศูนย์รวมเลือดเนื้อและจิต
วิญญาณจำนวนนับไม่ถ้วนของพระบูรพาจารย์ทั้งหลายในอดีตทุกยุคทุกสมัย จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
อนุ ชนคนรุ่ นหลังจะยังคงรักษาจิตวิญญาณนี้เอาไว้ตราบนิจนิรันดร์
837 人数