ในช่วงบ่ายของวันที่ ๑๕ เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้มีการจัดงาน “ธรรมปุจฉาแห่งสายน้ำเฉียน
ถัง” ครั้งที่ ๕ ประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๔ ณ หอปรัชญาเสวนาคาร ซึ่งจัดโดยพุทธสมาคมมณฑลเจ้อเจียง
และเปิดการบรรยายขึ้นที่วิทยาลัยพุทธศาสตร์เมืองหางโจว พระอาจารย์จีนกวงเฉวียนมหาเถระ
ประธานพุทธสมาคมมณฑลเจ้อเจียง และเจ้าอาวาสวัดหลิงหยิ่นซื่อ เมืองหางโจว เป็นองค์ปาฐก
บรรยายในหัวข้อ “สรุปการวิเคราะห์บทส่งเสริมการตั้งโพธิจิตของพระเซิ่งอันมหาเถระ” การ
บรรยายดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากพระอาจารย์หยุนทง ฝ่ายอบรมการศึกษาของพุทธสมาคม
มณฑลเจ้อเจียง
พระอาจารย์จีนกวงเฉวียนมหาเถระเริ่มต้นแนะนำชีวประวัติของพระเซิ่งอันมหาเถระ ผสมผสาน
ไปกับการยกตัวอย่างด้วยการชี้ให้เห็นถึงคุณลักษณะสำหรับการตั้งปณิธานจิตที่แตกต่างกัน ๘
ประการ ตามที่ระบุไว้ ใน “บทส่งเสริมการตั้งโพธิจิต” และอธิบายเพิ่มเติมอีกขั้นหนึ่งถึงสาเหตุและ
เงื่อนไข ๑๐ ประการ ในการตั้งโพธิจิตตามแนวการสอนของพระเซิ่งอันมหาเถระ ทำให้ผู้รับฟังทุก
ท่านเกิดความตระหนักรู้อย่างสุดซึ้งถึงการตั้งโพธิจิต ว่ามีความสำคัญและความหมายอย่างยิ่งต่อการ
ปฏิบัติธรรมในทางพุทธศาสนา
พระอาจารย์จีนกวงเฉวียนชี้ให้เห็นว่า โพธิจิตเป็นหัวใจของการแสวงหาวิถีทางของพระพุทธเจ้า
ในเบื้องต้น และช่วยเหลือชี้แนะสรรพสัตว์ทั้งหลายในเบื้องปลาย คือความปรารถนาที่จะหลุดพ้นใน
ระดับปัจเจก และในขณะเดียวกันก็เป็นการทำประโยชน์อย่างทั่วถึงเพื่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น เราจำเป็นต้องแยกแยะการตั้งปณิธานของเราให้ประกอบด้วย การไม่แสวงหาผลกำไร
ลาภสักการะ และชื่อเสียง ไม่ละโมบ ไม่เกิดความใคร่ ในวิบากผลที่เป็นความสุข แต่ให้ตั้งจิตเพื่อการ
บรรลุโพธิในท่ามกลางความเกิดและความตาย การตั้งจิตแบบนี้เรียกว่าการตั้งจิตแบบถูกตรง เราต้อง
เดิมตามรอยพระพุทธองค์ในทุก ๆ ขณะของความคิด โดยไม่หลีกหนีเพราะความขลาดกลัว และ
ช่วยเหลือชี้แนะสรรพสัตว์ในทุก ๆ ขณะจิต โดยไม่เบื่อหน่าย การตั้งจิตอย่างนี้เรียกว่าเป็นความจริง
แท้ เมื่อใดที่โลกของสรรพสัตว์สิ้นสุดลง เมื่อนั้นปณิธานของเราจึงสิ้นสุดตาม การตรัสรู้โพธิมรรคมีอยู่
ตราบใด ปณิธานของเราจักบรรลุผลสำเร็จได้ตราบนั้น การตั้งจิตอย่างนี้เรียกว่าเป็นความยิ่งใหญ่
ด้วยจิตว่างเหมือนอากาศ จึงตั้งปณิธานดุจอากาศ การปฏิบัติก็เป็นการปฏิบัติเหมือนอากาศ และการ
บรรลุผลยังเป็นแบบอากาศ หรือแม้แต่ลักษณะที่มิใช่อากาศก็ทำให้บรรลุผลได้ การตั้งจิตแบบนี้
เรียกว่าเป็นความสมบูรณ์ ที่จริงแล้วการตั้งโพธิจิตมันไม่ง่ายเลย เพราะต้องประกอบไปด้วยความถูก
ตรง ความแท้จริง ความยิ่งใหญ่ และความสมบูรณ์ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการนึกคิดทบทวนระลึกถึง
คุณของพระพุทธเจ้า คุณของบิดามารดา คุณของครูบาอาจารย์ หรือแม้กระทั่งสาเหตุและเงื่อนไข ๑๐
ประการ เช่น การกระทำเพื่อมุ่งให้พระสัทธรรมดำรงอยู่นาน เป็นต้น การนำปัญญาที่มีความเมตตา
กรุณา กับการบำเพ็ญประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ถึงพร้อมมาประกอบกันเป็นหนึ่ง
เดียวคือพื้นฐานของโพธิจิต ที่ทำให้เข้าใจความหมายอันวิเศษของพุทธธรรมได้อย่างลึกซึ้ง และบรรลุ
ทางสายตรงไปสู่ความตื่นรู้ในโพธิผล พระอาจารย์จีนกวงเฉวียนมหาเถระให้กำลังใจทุกคนที่กำลังอยู่ในกระบวนการปฏิบัติธรรมแบบพุทธศาสนา ให้รู้จักปล่อยวางในตัวตนและความยึดมั่นถือมั่นในสิ่ง
ต่าง ๆ พร้อมที่จะเอาชนะความเกียจคร้านกับความลังเลสงสัย และยกระดับพร้อมทั้งก้าวข้ามด้วย
ความตระหนักรู้ในธรรมชาติแห่งชีวิตที่ปรากฏขึ้นอย่างแท้จริงและถูกต้อง
581 人数